หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

อำนาจหน้าที่ของ อบต. ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเต็มถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546

1. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)

2. ภายให้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริทารส่วนตำบสมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริทารส่วนตำบล

ตังต่อไปนี้ (มาตรา 67)

1) จัดไห้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

2 รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ท่างเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

7) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรมชาติ และสิ่งแวดต้อม

8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวันบธรรมอันดีของท้องถิ่น

9 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความ

จำเป็นและสมควร

3. ภายใด้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจกรรมในเขตองค์กาวบริหารส่วนตำบล

ดังต่อไปนี้ (มาดรา 68)

1 ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

2) ให้มีการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

3) ให้มีการบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และส่วนสาธารณะ

5) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร"

8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

9 หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

10) ให้มีตลาด อู่เทียบเรือ และท่าข้าม

11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

4. การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะ

ดำเนินกิจการใต ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลต้องแจ้งให้ อบต.ทราบล่างหน้าตามสมควร หาก

อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าว ให้นำความเห็นของ อบต. ไปประกอบการพิจารณา

ดำเนินกิจการนั้นด้วย (มาตรา 69)

5. การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการ

บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา อบต. การ

จัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน แสะการเปิดเผยข้อมูล

ข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่

กระทรวงมหาดไทยกำหนด (มาตรา 69/1)

6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ของทางราชการ

ในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

(มาตรา 70)

7 ออกข้อบัญญัติ อบต เพื่อใช้บังคับในตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ของ อบต ในการนี้

จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มีให้กำหนดโทษปรับเกิน 1.000

บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาดรา 71)

8 อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดำารงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเติม (มาตรา 72)

9. อาจทำกิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตำบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการปริหารราชการส่วน

ท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)

 

   อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พ.ศ. ๒๕๔๒ (ตามมาตรา ๑๖)

๑. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

๒. การจัดให้มีและบำรุงรักษา ทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

๓. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

๔. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

๕. การสาธารณูปการ

๖. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

๗. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

๘. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

๙. การจัดการศึกษา

๑๐. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

๑๑. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

๑๒. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

๑๓. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

๑๔. การส่งเสริมกีฬา

๑๕.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน

๑๖.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

๑๗.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

๑๘.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

๑๙.การสาธารสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

๒๐.การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน

๒๑.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

๒๒.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

๒๓.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

๒๔.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

๒๕.การผังเมือง

๒๖.การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร

๒๗.การดูแลรักษาที่สาธารณะ

๒๘.การควบคุมอาคาร

๒๙.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

๓๐.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๓๑.กิจการอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล 

     ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๒๒

มาตรา ๖๖ องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

(๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

(๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

(๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

(๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

(๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

มาตรา ๖๘ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

(๑) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

(๒) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

(๓) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

(๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

(๕) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

(๖) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

(๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

(๘) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(๙) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

(๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม

(๑๑) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

(๑๒) การท่องเที่ยว

(๑๓) การผังเมือง

สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล งานนโยบายและแผน งานกฎหมายและคดี งานส่งเสริมการศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน งานการเจ้าหน้าที่ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานธุรการ งานพิมพ์ดีด งานอินเตอร์เน็ตตำบล งานการประชุม  งานการข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล งานรัฐพิธี งานประชาสัมพันธ์ งานจัดทำแผนพัฒนาตำบล งานการจัดทำข้อบังคับงบ-ประมาณประจำปี งานขออนุมัติดำเนินการตามข้อบัญญัติ งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีผู้รับผิดชอบ ดังนี้

 

    ๑.๑ งานบริหารทั่วไป

          ๑. งานการเจ้าหน้าที่  มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการต้อนรับดูแลผู้มาประสานงาน และติดต่อราชการ ศึกษาดูงาน ขอข้อมูล ในส่วนของสำนักงานปลัดฯ

          ๒. งานบริหารงานบุคคล  ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบุคคลขององค์การบริหารส่วน-ตำบล  ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนงานบุคคล  การสรรหาและบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ  การดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือน  การควบคุมและส่งเสริมสมรรถภาพในการปฏิบัติราชการ  จัดทำทะเบียนประวัติการรับราชการ  การดำเนินการเกี่ยวกับการออกจากราชการ  เป็นต้น  และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

          ๓. งานเลือกตั้ง มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งทุกประเภท อาทิเช่น การเลือกตั้ง ส.ส. ,ส.ว.,ส.จ.,และ ส.อบต. เป็นต้น

 

   ๑.๒ งานนโยบายและแผน

          มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผน ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและแผน  โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง  เช่น  ศึกษา  วิเคราะห์  วิจัย  ประสานแผน  ประมวลแผน  พิจารณา  เสนอแนะ   เพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย  จัดทำแผนหรือโครงการ  ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการต่าง ๆ  ซึ่งอาจเป็นนโยบาย  แผนงานและโครงการทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การบริหาร  หรือความมั่นคงของประเทศ  ทั้งนี้  อาจเป็นนโยบาย  แผนงานขององค์การบริหารส่วนตำบล  และโครงการระดับชาติแล้วแต่กรณี ให้คำปรึกษา  แนะนำในทางปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา  ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ  เกี่ยวกับงานในหน้าที่  โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่งหรือปฏิบัติงานวิเคราะห์นโยบายและแผนงานที่ค่อนข้างยากมาก  โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ หรือภายใต้การตรวจสอบบ้าง

          ๑. งานวิชาการ มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านแผนการศึกษาดูงานให้บริการด้านงานวิชาการต่าง ๆ งานข้อมูล รวบรวมข้อมูลและสถิติทางเทคนิคและวิชาการทุกประเภท อาทิเช่น งานสถิติประเภทต่างๆ

          ๒. งานเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์  โดยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านระบบอินเตอร์เน็ตตำบล แผนแม่บทเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ICT)

          ๓. งานงบประมาณ ได้แก่ การจัดพิมพ์งบประมาณรายจ่ายประจำปี,การพิมพ์งานและจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น (ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล)  โดยมีผู้ช่วยปฏิบัติงาน คือ

            งานงบประมาณ  ได้แก่  การช่วยจัดพิมพ์งบประมาณรายจ่ายประจำปี การพิมพ์ งานจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น (ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล)  การพิมพ์งานจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไป เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จัดทำฎีกาเบิกเงิน และการจัดพิมพ์ใบสำคัญฎีกาเบิกจ่ายเงินในส่วนของสำนักงานปลัดฯ  ทั้งหมดตามงบประมาณรายจ่าย

            - งานขออนุมัติดำเนินการตามข้อบัญญัติท้องถิ่น อาทิเช่น  การโอนเงินงบ -ประมาณ การยืม เงินสะสม  การจ่ายขาดเงินสะสม งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และการจัดตารางการอยู่เวรยามประจำสถานที่ราชการ

 

   ๑.๓ งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน

          ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจ ,การปฏิบัติงานเกี่ยวกับสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) การอนามัยและสุขาภิบาล การปกครองท้องถิ่นและความเจริญด้านอื่น  โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น สำรวจข้อมูลเบื้องต้นในเขตพัฒนาชุมชน เพื่อจัดทำแผนงาน ดำเนินการและสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของประชาชนประเภทต่าง ๆ แสวงหาผู้นำท้องถิ่น เป็นผู้นำและเป็นที่ปรึกษากลุ่มในการพัฒนาชุมชน ดูแลส่งเสริมประชาชนให้มีความสนใจ ความเข้าใจและความคิดริเริ่มในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นของตน ร่วมทำงานพัฒนากับประชาชนในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำและฝึกอบรมประชาชนในท้องถิ่น ตามวิธีการและหลักการพัฒนาชุมชน เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ต่อครอบครัวในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมในครัวเรือน อำนวยความสะดวกและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ติดตามผลงานและจัดทำรายงานต่าง ๆ บันทึกข้อมูล จปฐ. และ กชช. ๒ ค. งานผู้ประสานพลังแผ่นดิน,งานสวัสดิการสังคม เบี้ยยังชีพผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ร่วมงานประชุมประชาคมหมู่บ้าน/ตำบล เป็นต้น โดยเป็นผู้ประสานงานระหว่างส่วนราชการและองค์การอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุกด้าน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

 

ฝ่ายสวัสดิการและพัฒนาชุมชน

ให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. งานสังคมสงเคราะห์

     1.1 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยโรคเอดส์ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์

     1.2 ส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรม/โครงการกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์ และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์

     1.3 รับคำร้องเพื่อขอรับเงินในการจัดการงานศพของผู้สูงอายุตามประเพณี (พมจ.)

     1.4 ส่งเสริมและสนับสนุน กิจกรรมการพัฒนาอาชีพ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์

     1.5 ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาจิตใจพัฒนาร่างกายในกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการและ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

 

2. งานพัฒนาชุมชน

     2.1 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ระบบการจัดเก็บ บันทึก ประมวลผลข้อมูล จปฐ. กชช2ค

     2.2 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนทุกประเภท

     2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนและประสานงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

              - กองทุนหมู่บ้าน/ชุมชนเมือง

              - โครงการพัฒนาบทบาทสตรี

              - โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน/เมือง (SML)

     2.4 ส่งเสริมภารกิจบทบาทหน้าที่และสิทธิสตรี

     2.5 ส่งเสริม สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน

     2.6 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดทำแผนชุมชนในแต่ละชุมชน
 

3. งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ
     - ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการฝึกอาชีพอย่างต่อเนื่อง
     - ดำเนินการจัดหาวิทยากรอาชีพตามความต้องการของชุมชน
     - ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์ในชุมชนและผลักดันให้มีการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP)
     - ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพ สร้างงาน สร้างเงิน สร้างรายได้ลดรายจ่ายและเพิ่มผลผลิตให้กับครอบครัว


 

    ๑.๔  งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการช่วยศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการแนะแนวการศึกษาและการจัดบริการส่งเสริมการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งได้แก่ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการกำลังคน หลักสูตร แบบเรียน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน งานศิลปวัฒนธรรม รับผิดชอบงานด้านศาสนพิธี และรัฐพิธีในส่วนของสำนักงานปลัดฯ ตลอดจนงานควบคุมและส่งเสริมการท่องเที่ยว,งานส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชนและจังหวัด,การจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ และตลอดจนความต้องการด้านการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา,จัดประชุมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการแนะนำ แนวการ ศึกษาและอาชีพเผยแพร่การศึกษา เช่น ออกรายการทางวิทยุ โทรทัศน์ การเขียนบทความ จัดทำวารสารหรือเอกสารต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านทางการศึกษา   การวิเคราะห์ การวิจัย เสนอความเป็นเกี่ยวกับการแนะแนว การวัดผลและประเมินผลการศึกษา การสร้างและพัฒนาหลักสูตรของวิชาการต่าง ๆ การพัฒนาตำราเรียน การวางแผนการศึกษา วางมาตรฐานสถานศึกษาการจัดบริการส่งเสริมการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาและส่งเสริมการวิจัยการศึกษา การวางโครงการ สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติการศึกษา วิเคราะห์ผลงานจากการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายแผนงานและแนวทางการปฏิบัติในการจัดการศึกษา เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

 

กองคลัง   

         มีอำนาจหน้าที่พิจารณา ศึกษา วิเคราะห์ ทำความเห็น เสนอแนะ และดำเนินการปฏิบัติงานบริหารงานการคลังที่ต้องใช้ความชำนาญ โดยตรวจสอบการจัดงานต่างๆ เกี่ยวกับงานการคลังหลายด้านเช่นงานการคลัง งานการเงินและบัญชี งานการจัดเก็บรายได้ งานรวบรวมข้อมูลสถิติและวิเคราะห์งบประมาณ งานพัสดุ งานธุรการ งานจัดการเงินกู้ งานจัดระบบงาน งานบุคคล งานตรวจสอบรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับการเบิกจ่าย งานรับรองสิทธิการเบิกงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่าย การรักษาทรัพย์สินที่มีค่าและหลักฐานแทนตัวเงิน พิจารณาตรวจสอบรายงานการเงินต่าง รายงานการปฏิบัติงาน สรุปเหตุผลการปฏิบัติงานด้านต่างๆ พิจารณาวินิจฉัยผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องวางแผนงานด้านต่างๆ ให้การปฏิบัติของหน่วยงานที่สังกัดหน่วยงานการคลังปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ   ตลอดจนควบคุมการตรวจสอบและประเมินผล ทำรายงานประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับรายได้รายจ่ายจริงเพื่อประกอบการพิจารณาวิเคราะห์การประมาณรายรับรายจ่าย  กำหนดรายจ่ายของหน่วยงานเพื่อให้เกิดการประหยัดและคล่องตัวในการปฏิบัติงานโดยทั่วไปของอบต. สืบหาแหล่งที่มาของรายได้ดำเนินการให้มีการชำระภาษีละค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างทั่วถึง ตรวจสอบรายงานการเงินและบัญชีต่างๆ ตรวจสอบการเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์ การจัดซื้อ การจัดจ้าง ร่วมเป็นกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น เป็นกรรมการรักษาเงิน เป็นกรรมการตรวจการจ้าง เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ฯลฯ เสนอข้อมูลทางด้านการคลังเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน เป็นต้น ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบาย และแผนงานของหน่วยงานที่สังกัดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่กำหนดนโยบายการปฏิบัติงาน พิจารณากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ติตต่อประสานงาน วางแผน มอบหมาย วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ตรวจสอบให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุง แก้ไขติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย

งานการเงินและบัญชี

        ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควร หรือมีความรับผิดชอบไม่สูงนักเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีโดยปฏิบัติหน้าที่อย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเช่น ตรวจสอบหลักฐานและ ใบสำคัญการเบิกจ่ายเงินจัดทำบัญชีทั่วไปของราชการ เช่น ทำบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท เป็นต้น ช่วย พิจารณาตั้งงบประมาณหมวดที่ไม่มีปัญหา เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าล่วงหน้า ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ เป็นต้น ควบคุม การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตรวจทางการตั้งฎีกาเบิกจ่าย ทำหนังสือโต้ตอบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชีการงบประมาณ จัดสรรเงินงบประมาณ รายจ่ายตามยอดที่ได้รับอนุมัติแล้ว ตรวจสอบงบเดือน ทำรายงานการเงิน ให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ติดต่อประสานงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

        ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากเกี่ยวกับการเงินพิจารณาแบบแสดงรายการ คำร้อง คำขอคำอุทรธรณ์หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หรือรายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินภาษีตรวจแบบแสดงรายการและเอกสารแนบเรื่อง ตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ คำนวณภาษี ปรับเงินเพิ่ม แจ้งผลการประเมิน คำชี้ขาดการอุทรธรณ์ชี้แจงให้เหตุผลและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตควบคุมกิจการการค้า ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตควบคุมการแต่งผม ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตการทำน้ำแข็งเพื่อการค้า ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตั้งตลาดเอกชนและใช้เครื่องขยายเสียง ค่าธรรมเนียมตรวจรักษาโรค ค่าธรรมเนียมเก็บขยะมูลฝอย ค่าธรรมเนียมขนสิ่งปฏิกูลค่าธรรมเนียมควบคุมการก่อสร้างอาคาร ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามข้อบังคับตำบล ค่าปรับผู้ละเมิดกฎหมายและข้อบังคับตำบล ค่าอากรการฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียมโรงฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียมโรงพักสัตว์ ค่ารับจ้างสัตว์ ค่าเช่า อาคารพาณิชย์ ค่าเช่าโรง-มหรสพ ค่าเช่าตลาดสด ค่าเช่าแผงลอย ค่าที่วางขายของในที่สาธารณะ ดอกเบี้ยเงิน-ฝากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาลและเงินฝากธนาคาร ค่าจำหน่ายเวชภัณฑ์ คำร้องต่างๆค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่า และค่าชดเชยต่างๆ เป็นต้น รับเงินหรือควบคุมการรับเงินโดยใกล้ชิด ควบคุมหรือจัดทำทะเบียนต่างๆ เก็บรักษาหรือค้นหาเอกสารหลักและเรื่องของผู้เสียภาษีอากร ธรรมเนียมและรายได้อื่น สอดส่องตรวจตราเร่งรัดภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่างๆ รายได้อื่นค้างชำระ ควบคุมหรือดำเนินงานเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานและปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้อง

งานพัสดุและทรัพย์สิน

        ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดหาพัสดุ งานจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง งานรายงานผลการดำเนินการตามแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง งานรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการจัดหา งานจัดหาพัสดุและทรัพย์สิน งานซ่อมแซมบำรุงรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานเช่าพัสดุ งานจ้างที่ปรึกษา งานจ้างออกแบบและควบคุมงาน งานแลกเปลี่ยนพัสดุ งานรายงานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง  งานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์รายละเอียดของพัสดุ งานเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรองผลงาน งานเกี่ยวกับหลักประกันซองและหลักประกันสัญญา งานเกี่ยวกับการลงโทษผู้ทิ้งงาน งานทะเบียนและควบคุมพัสดุ ครุภัณฑ์และทรัพย์สิน งานตรวจสอบการรับ – จ่ายพัสดุ งานการตรวจสอบพัสดุประจำปี งานรายงานข้อมูลพัสดุและทรัพย์สิน งานเกี่ยวกับการยืมพัสดุและทรัพย์สิน งานจำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินของ อบต. งานจัดทำงบทรัพย์สินของ อบต. งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

กองช่าง

         มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การวางโครงการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการออกแบบ วางผังหลัก  ออกแบบ-สถาปัตยกรรม ครุภัณฑ์ และ ออกแบบงานด้านวิศวกรรมต่างๆ ตลอดจนควบคุมการก่อสร้างและซ่อมแซมบำรุงรักษาและติดตามผลวิจัยงานทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม  ควบคุม-การเขียนแบบรูปรายการก่อสร้าง การประมาณราคา จัดพิมพ์แบบรูปรายการต่างๆดำเนินการประกวดราคา ทำสัญญาจ้าง ควบคุมการก่อสร้างและตรวจรับงานเพื่อเบิกจ่ายเงินพิจารณาข้อขัดแย้งต่างๆ  ในด้านงานออกแบบและก่อสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล  เพื่อให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ  ตรวจแบบก่อสร้างต่างๆของเอกชนที่รับอนุญาตปลูกสร้าง ตรวจทางแบบก่อสร้างด้านช่างโยธาและอาคาร ควบคุมตรวจสอบงานโยธา เช่น สะพาน ถนน ท่อระบายน้ำ ทางเท้า คลอง อาคาร ละสิ่งก่อสร้างอื่นๆ สวนสาธารณะ สำรวจข้อมูลการจราจร สำรวจและทดลองวัสดุ ควบคุมตรวจสอบซ่อมแซมไฟฟ้าสวนสาธารณะ ควบคุมการใช้บำรุงรักษาเครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ของหน่วยงานให้ถูกต้องตามหลักวิชาการงานรวบรวมข้อมูลและสถิติ งานสัญญา งานจัดตกแต่งสถานที่ ในงานพิธีท้องถิ่น งานราชพิธี เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ  เป็นกรรมการควบคุมการก่อสร้าง เป็นนายตรวจป้องกันอัคคีภัย เป็นนายตรวจเวรยามสำนักงาน ตอบปัญหาและชี้แจ้งเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานพิจารณาวางอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบ  ติดต่อประสานงาน วางแผนมอบหมายงาน วินิจฉัยสั่งการ ควบคุม ตรวจสอบ  ให้คำปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ  และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย

งานก่อสร้าง

        ปฏิบัติงานที่ยากมากหรือมีความรับผิดชอบสูงมากเกี่ยวกับงานช่างโยธา โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้างและบำรุงรักษาด้วย ช่างโยธาการวางโครงการก่อสร้างในงานด้านช่างโยธา เช่น ทาง สะพาน ระบายน้ำ อาคาร อุโมงค์ เขื่อน อาคาร ชลประทาน อาคารการประปา ท่าเทียบเรือ สนามบิน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ปฏิบัติ งานสำรวจต่างๆ เกี่ยวกับงานช่างโยธา เช่น สำรวจ เพื่อการก่อสร้าง สำรวจและทดลองวัสดุ ทดลองหาคุณสมบัติของเดิม สำรวจข้อมูลการจราจรสำรวจทางอุทกวิทยา ตรวจทานแบบ คำนวณออกแบบด้านช่างโยธา ซ่อม สร้างวัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการสำรวจและทดลองทุกชนิดให้ได้มาตรฐาน เป็นต้น ฝึกอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหา และ ชี้แจงเรื่องต่าง เกี่ยวกับงานในหน้าที่ปฏิบัติ หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

         มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารวิชาการศึกษา  งานเทคโนโลยีทางการศึกษา  งานจัดการศึกษา  งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล  งานบริการและบำรุงสถานศึกษา  งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  งานกิจการเด็กและเยาวชน  งานกีฬาและสันทนาการ  การดำเนินการเกียวกับการจัดการศึกษา  การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของประชาชน  การสนับสนุนบุคลากร  วัสดุอุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  จัดสถานที่เพื่อการศึกษา  ส่งเสริมทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งศิลปะประเพณี ขนมธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น  วัฒนธรรมด้านภาษา  การดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา  การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

     1. ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

        - งานส่งเสริมการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา  ศาสนา  วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของประชาชน  การสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ  เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  จัดสถานที่เพื่อการศึกษา  ส่งเสริมทำนุบำรุง  รักษาไว้ซึ่งศิลปะประเพณี  ขนมธรรมเนียมจารีตประเพณีท้องถิ่น  วัฒนธรรมด้านภาษา  การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

     2. ฝ่ายบริหารการศึกษาและกิจการโรงเรียน

        - งานการศึกษาและกิจการโรงเรียน  มีหน้าที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการบริหารวิชาการ  งานนิเทศการศึกษา  งานเทคโนโลยีทางการศึกษา  งานจัดการศึกษา  งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล  งานบริการและบำรุงสถานศึกษา  งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ส่งเสริมกิจการศาสนา  งานกิจการเด็กและเยาวชน  งานกีฬาและสันทนาการและการดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา

กองสวัสดิการสังคม

     มีหน้าที่ดูแลควบคุมและรับผิดชอบการปฏิบัติงาน จัดทำโครงการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ให้แก่ สังคม งานประสานและร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านสวัสดิการสังคม งานให้คำปรึกษา แนะนำด้านสวัสดิการสังคม แก่ผู้มาขอรับ งานสำรวจ วิจัย สภาพปัญหาด้านสวัสดิการสังคมของชุมชน ประกอบกับปฏิบัติหน้าที่ในงานพัฒนา เด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ การจัดให้มีและสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เยาวชน การส่งเสริมงานประเพณีท้องถิ่น และงานสาธารณะ ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับ ภารกิจ อำนาจ หน้าที่ตามกฎหมาย ความยาก คุณภาพของงาน ปริมาณงาน เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดขอบเขตของงานและการปฏิบัติงาน แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น๒ งาน

๑. งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน  

๒.งานสังคมสงเคราะห์